สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือที่ประชาชนนิยมเรียกว่า “สมเด็จย่า” แต่สำหรับชาวไทยภูเขาจะเรียกพระองค์ว่า “แม่ฟ้าหลวง” เพราะพระองค์ทรงประกอบพระราชกรณียกิจเยี่ยมราษฎรชาวไทยภูเขาที่อาศัยในถิ่นทุรกันดาร และมักเสด็จพระราชดำเนินโดยเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง เปรียบเสมือนพระองค์เสด็จมาจากฟากฟ้ามาช่วยให้มีชีวิตที่ดีขึ้น
สมเด็จย่ามีพระนามเดิมว่า สังวาลย์ ตะละภัฏ พระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม 2443 ทรงเป็นบุตรคนที่ 3 ใน พระชนกชู และ พระชนนีคำ ทรงเรียนหนังสือเมื่อเริ่มแรกกับพระชนนีคำ และต่อมาทรงเข้าเรียนในโรงเรียนสำหรับเด็กหญิงที่ตั้งขึ้นที่วัดอนงคารามที่อยู่ใกล้บ้าน และได้เสด็จไปศึกษาต่อที่โรงเรียนสตรีวิทยาจนถึงปี พ.ศ. 2456 ทรงจบชั้นประถมปีที่ 3 เมื่อพระชนมายุได้ 13 พรรษา และได้ทรงเข้าศึกษาในโรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์และหญิงพยาบาลแห่งศิริราช ซึ่งเป็นโรงเรียนพยาบาลแห่งเดียวในประเทศไทยในขณะนั้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2460 ทรงได้รับทุนให้ไปศึกษาวิชาพยาบาลเพิ่มเติมที่สหรัฐอเมริกา
ขณะที่ทรงศึกษาอยู่นั้น สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงพบและพอพระทัยในสมเด็จย่า ด้วยมีพระสิริโฉมงดงาม รวมถึงพระอุปนิสัยและคุณสมบัติอื่นๆ พระบรมราชนก จึงมีลายพระหัตถ์กราบบังคมทูลสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระราชมารดา ขอพระราขทานพระราชานุญาตหมั้นหมายกับสมเด็จย่า โดยทรงจัดให้มีพิธีอภิเษกสมรสที่วังสระปทุมเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2463
หลังทั้ง 2 พระองค์จบการศึกษา ทรงเสด็จไปพักอาศัยที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และได้ทรงประสูติพระราชธิดาพระองค์แรก คือสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2466 และหลังจากนั้นได้ทรงประสูติพระราชโอรสอีก 2 พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร (รัชกาลที่ 8) เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2468 และพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2470 ถือได้ว่าสมเด็จย่าทรงเป็นพระมารดาของพระมหากษัตริย์ไทยถึง 2 พระองค์
ด้านพระราชอัธยาศัยและพระราชจริยวัตร สมเด็จย่าทรงโปรดการดำรงชีวิตที่เรียบง่าย โปรดการทรงงานด้วยพระองค์เอง ทรงใช้จ่ายอย่างประหยัดเพื่อนำพระราชทรัพย์ไปใช้ในการกุศล ทรงใฝ่รู้ศึกษาวิชาการต่าง ๆ มาตลอดพระชนม์ชีพ ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทรงเยี่ยมเยียนประชาชนในถิ่นทุรกันดาร และนำความทุกข์ยากของประชาชนในด้านต่าง ๆ มาจัดตั้งเป็นโครงการทั้งในด้านการแพทย์และสาธารณสุข ที่ทรงจัดตั้งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ในพระองค์ ทรงพระราชทานนามว่า “แพทย์อาสาสมเด็จพระราชชนนี” หรือ “พอ.สว.” หน่วยงานที่ประกอบไปด้วยแพทย์พยาบาลและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่เป็นอาสาสมัครทำงานด้วยความเสียสละโดยไม่ได้รับเงินเดือน หรือค่าตอบ คอยทำหน้าที่ออกไปให้บริการตรวจรักษาชาวบ้านตามท้องถิ่นทุรกันดาร โดยเริ่มออกปฏิบัติงานครั้งแรกเมื่อปี 2512
แม้แต่ในด้านการศึกษาของเยาวชน สมเด็จย่าก็ยังทรงให้ความสนพระทัย จากการเสด็จฯ ออกเยี่ยมเยียนราษฏร ในปี 2507 ทรงพบกับสภาพความขาดแคลนโรงเรียนสำหรับเยาวชนในท้องถิ่นทุรกันดาร เมื่อทรงทราบว่ากองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน กำหนดโครงการที่จะจัดสร้างโรงเรียนชาวเขาขึ้นในเขตพื้นที่ตามแนวชายแดนที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบ สมเด็จย่าได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ร่วมกับผู้มีจิตศรัทธาทูลเกล้าถวายเงินสมทบ จัดสร้างโรงเรียนชาวเขาได้กว่า 214 แห่ง และยังทรงรับเอาโครงการของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนไว้ในพระราชูปถัมภ์ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงมีต่อเยาวชนชาวไทยในท้องถิ่นชนบทห่างไกล
รวมไปถึงพระราชกรณียกิจด้านงานอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หนึ่งในหลายๆ งานในด้านนี้ของสมเด็จย่า คือ โครงการพัฒนาดอยตุง ดังพระราชดำริที่ว่า “ฉันจะปลูกป่าบนดอยตุง” ที่เป็นพระราชปณิธานของพระองค์ที่ทรงต้องการทอดพระเนตรเห็นความเขียวชอุ่มและความสมบูรณ์ของสภาพป่าบนดอยตุง ฯพณฯ พลเอกเปรมติณ สูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ในขณะนั้น จึงได้ก่อตั้งโครงการพัฒนาดอยตุงขึ้น ในปี พ.ศ. 2531 โดยโครงการนี้มีวัตถุประสงค์ในการปลูกป่าและพัฒนาความรู้แก่ชาวบ้าน เพื่อพัฒนาสภาพป่าบนดอยตุงให้มีความสมบูรณ์ ความสำเร็จของโครงการนี้ ได้จุดประกายให้เกิดการตื่นตัวในการสร้างจิตสำนึกเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเกิดขึ้นแก่ประชาชนในวงกว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม ทำให้ชาวบ้านหันมาให้ความร่วมมือกับหน่วยงานรัฐในการฟื้นฟูสภาพป่าอย่างเป็นระบบ ให้กลับมามีความอุดมสมบูรณ์ขึ้นอีกครั้ง
สมเด็จย่า ทรงงานอย่างต่อเนื่องจนถึงวาระสุดท้ายของพระชนม์ชีพ ในขณะที่มีพระชนมายุ 95 พรรษา ในวันอังคารที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ทรงเสด็จสวรรคตที่โรงพยาบาลศิริราช ด้วยพระอาการแทรกซ้อนทางพระยกนะ (ตับ) พระวักกะ (ไต) และพระหทัยทำงานไม่ปกติ
จนเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2543 อันเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพครบรอบ 100 ปี องค์การยูเนสโก ได้เฉลิมพระเกียรติยกย่องให้สมเด็จย่าเป็น “บุคคลสำคัญของโลก” แม้สมเด็จย่าจะจากประชาชนชาวไทยไป 26 ปีแล้ว แต่พระมหากรุณาธิคุณที่ทรงปรารถนาให้ชาวไทยมีความสุข จะยังคงสถิตอยู่ในความทรงจำของพสกนิกรชาวไทยตราบจนนิรันดร์
Share this article
You might also like this
กุหลายสีรุ้ง.. ความรัก ความหลากหลาย ความหวัง
กุหลาบสีรุ้งมีต้นกำเนิด
โครงการตราไปรษณียากร 2564 Thai Stamp Programme 2021
จำนวนคนดู: 12
Heya outstanding blog! Does running a blog such as this require
a large amount of work? I have absolutely no expertise in programming however I
had been hoping to start my own blog in the near future.
Anyhow, if you have any suggestions or tips for new blog owners please share.
I understand this is off topic nevertheless I simply wanted to ask.
Thanks!
It’s hard to find knowledgeable people on this subject, but you
seem like you know what you’re talking about! Thanks
Greetings from Carolina! I’m bored to tears at work so I decided to check out your blog on my iphone during lunch break.
I love the info you provide here and can’t wait to take a look when I get home.
I’m shocked at how fast your blog loaded on my mobile ..
I’m not even using WIFI, just 3G .. Anyways, wonderful blog!
Hi, its nice article about media print, we all
be familiar with media is a great source of data.